บทสวดบูชาพระพิฆเนศที่มีผู้นิยมใช้มาก

บทสวดมนต์ หรือ คาถา สำหรับบูชาพระพิฆเนศนั้น
ในแบบดั้งเดิมโบราณ มีเป็นร้อยๆ กว่าบท..

และแบบสมัยใหม่ที่มีการดัดแปลงความหมายให้เหมาะสม ก็มีอีกหลายพันบท
ตามแต่ละประเทศ ลัทธิ และวัฒนธรรมท้องถิ่นที่แตกต่างกันออกไป
(เช่นในประเทศไทย ก็มีการประพันธ์บทสวดพระพิฆเนศขึ้นมาใหม่หลายบทเช่นกัน)

ท่านสามารถเลือกสวดบทใดๆได้ตามความสะดวก หรือเท่าที่จำได้
ควรเริ่มต้นจากการสวดบทเดียว จากนั้นให้ท่องจำและศึกษาเพิ่มเติมจนสามารถสวดได้หลายๆ บท
ในแต่ละบทสวด จะสวดบูชาแค่รอบเดียวหรือสวด 3 , 5 , 7 , 9 จบก็สามารถทำได้
แต่ชาวฮินดูไม่มีการกำหนดตายตัวว่า มนต์บทใดจะต้องสวดกี่รอบ
สามารถเลือกสวดมนต์บทใดๆ ก่อน-หลัง ได้ด้วยตนเอง จากนั้นจึงขอพร

ชาวพุทธสามารถตั้งนะโม 3 จบแล้วค่อยสวดมนต์บูชาเทพทางพราหมณ์ได้
แต่ผู้นับถือศาสนาพราหมณ์จะเริ่มสวดบูชาพระพิฆเนศเป็นอันดับแรก
แล้วต่อด้วยการสวดบูชาเทพองค์อื่นๆที่นับถือเพิ่มเติม

คาถา บทสวดบูชาพระพิฆเนศที่มีผู้นิยมใช้มากที่สุด อันได้แก่

- โอม ศรี คเณศายะ นะมะหะ (เป็นบทสวดหลัก)

- โอม คัง คะณะปัตตะเย นะมะหะ
(บทสวดของอินเดียเหนือ)

- โอม เหรัมภายะ นะมะหะ
(หมายถึง ขอบูชามหาเทพผู้ยิ่งใหญ่)

- โอม เอกะทันตายะ นะมะหะ
(หมายถึง ขอบูชาเทพผู้มีงาข้างเดียว)

- โอม ชยะคเณศะ / ชยะคเณศะ / ชยะคเณศะ เทวา
ออกเสียงตาม ไจยกาเนช มนตรา ได้ว่า - โอม ไจย กาเนชา ไจย กาเนชา ไจย กาเนชา เดวา
(หมายถึง ขอชัยชนะจงมีแด่องค์พระพิฆเนศ)

- โอม ศรี มหา คณาธิ ปัตเย นะมะหะ

- โอม พระพิฆเณศวร สิทธิประสิทธิเม มหาลาโภ
ทุติยัมปิ พระพิฆเณศวร สิทธิประสิทธิเม มหาลาโภ
ตะติยัมปิ พระพิฆเณศวร สิทธิประสิทธิเม มหาลาโภ
(บทสวดของไทย)

- โอม นะโม พระคเณศายะ / นะโมนะมะ คันธะมาละ
สิทธาหะนัง กะพะมะนะ / สัมมาอะระหัง วันทามิ
(บทสวดของศิลปากร)

- โองการพินทุ นาถัง อุปปันนัง
พรหมมะโน จะอินโท พิฆเณศวรโต มหาเทโว
อะหัง วันทามิ สัพพะทา / สิทธิกิจจัง สิทธิกัมมัง สิทธิการิยัง ประสิทธิเมฯ

(บทสวดของไทยและที่ปรากฎ ณ ศาลพระพิฆเนศ เซ็นทรัลเวิลด์ ราชประสงค์)

- มหาเทวะ มหาสลัม มหาวะศะการัม
พระพิฆเณวา สะวะลัม พรหมมานัง
วิญญานัง โอม ทูปัง ทีปัง / มะนะสะการัม บุปผัง ญะลา ผลังนิล

(บทสวดของพิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ)

- โอมปารวตี ปัตตเย ฮารา ฮารา ฮารา มหาเทวา
คาชานะนัม ภูตะคะณาธิเสวิตัม / กะปิตะชัมพู ผะละจารุภักษะณัม
อุมาสุตัม โศกะวินาศะ การะกัม / นะมามิ วิฆะเนศวะระ ปาทะปังกะชัม

ความหมาย : พระพิฆเนศทรงเป็นสิ่งสูงสุด ทรงมีเศียรเป็นช้าง
ทรงมีสาวกมากมาย พระองค์ทรงโปรดผลมะขวิดและผลหว้า (บางตำราว่าผลชมพู่)
พระองค์ทรงเป็นบุตรแห่งพระแม่ปารวตี
ทรงเป็นผู้ทำลายความทุกข์ยากและความเจ็บปวด
ข้าพเจ้าขอน้อมนมัสการ เทพผู้ทรงมีพระบาทดั่งดอกบัว


- วักกระตุณทะ มหากายา
สุริยาโกติ สมาปราภา / นิรวิฆนัม คุรุเมเทวะ
สาระวะการะ เยสุ สาระวะทา

(บทอัญเชิญพระพิฆเนศ นิยมสวดกันมาก โดยเฉพาะในขณะถวายเครื่องสังเวยบูชา)
ความหมาย : ขอน้อมบูชามหาเทพ ผู้มีงวงอันโค้งยาว งดงามยิ่ง
พระองค์มีพระวรกายอันแข็งแกร่ง
บารมีของพระองค์ได้แผ่ออกดั่งแสงอาทิตย์เจิดจ้านับล้านดวง
ขอพระพิฆเนศวรโปรดประทานความผาสุขและชี้นำข้าพเจ้าไปสู่สิ่งที่ดีงามด้วยเถิด


- โอม เอกทันตายะ วิทมาเห
วักระตุณทายะ ทีมะหิ / ตันโน ตันติ ประโจทะยาต

(บทสวดคเณศาคายตรี)
ความหมาย : เราพร่ำสวดสรรเสริญแด่พระพิฆเนศผู้ยิ่งใหญ่
เราทำสมาธิเพื่อน้อมระลึกถึงท่าน ผู้ซึ่งมีงาข้างเดียว ขอพระองค์โปรดนำทางเราไปสู่สิ่งที่ดีงามด้วยเถิด


- โอม ตัด ปุรุษยา วิทมาเห
วักระตุณทายะ ทีมะหิ / ตันโน ตันติ ประโจทะยาต

(บทสวดพระพิฆเนศ จาก คัมภีร์คณปติอุปนิษัท)
ความหมาย : เราพร่ำสวดสรรเสริญแด่พระพิฆเนศผู้ยิ่งใหญ่
เราทำสมาธิเพื่อน้อมระลึกถึงท่าน ผู้ซึ่งมีงวงอันโค้งสวยงาม ขอพระองค์โปรดนำทางเราไปสู่สิ่งที่ดีงามด้วยเถิด


- โอม ตัต การาตายะ วิทมาเห
หัสติมุขายะ ทีมะหิ / ตันโน ตันติ ประโจทะยาต

(บทสวดพระพิฆเนศ จาก นารายณ์อุปนิษัท)

- โอม คัง คะณะปัตตะเย นะโมนะมะห์
ศรี สิทธิวินายัก นะโมนะมะห์
อัสตะ วินายัก นะโมนะมะห์
กันนะปติ บัปปา โมรายา

บทสวดบูชาองค์ สิทธิวินายัก พระพิฆเนศองค์สำคัญของโลก
และบูชาเทวรูป อัสตะวินายัก พระพิฆเนศที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ 8 แห่ง ณ ประเทศอินเดีย
เพลงบูชาจะร้องวนซ้ำไปเรื่อยๆ สามารถเปิดฟังขณะถวายของหรือทำสมาธิ


ที่มา http://www.siamganesh.com